วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบว่า ทำไมฉลามถึงได้มารวมตัวกันในสถานที่ปริศนา ในทุกๆ ปี

นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบว่า ทำไมฉลามถึงได้มารวมตัวกันในสถานที่ปริศนา ในทุกๆ ปี



"White Shark Cafe" หรือ "คาเฟ่ของปลาฉลามขาว" สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง รัฐ Baja California (บาฮากาลิฟอร์เนีย) ประเทศเม็กซิโก กับเกาะฮาวาย และในทุกฤดูหนาว พิกัดนี้จะกลายเป็นแหล่งชุมนุมของฉลามหลากหลายสายพันธุ์ อาทิ ฉลามขาว, ฉลามสีน้ำเงิน และฉลามมาโก (Mako shark) แต่การที่จะหาคำตอบว่าทำไมพวกมันถึงมารวมตัวกันที่นี่ ต้องใช้เวลายาวนานหลายปี และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้คำตอบ ทีมงานใช้เวลาร่วมสัปดาห์บนท้องทะเล ลองเดินทางผ่านเส้นทางเดียวกับที่ฉลามใช้เวลาในการเดินทาง 100 วันเพื่อไปยัง White Shark Cafe ซึ่งเป็นการเดินทางที่ยาวนานทีเดียว แต่ในที่สุดก็ค้นพบสิ่งที่คาดว่าน่าจะเป็นคำตอบ และสิ่งที่ทีมงานค้นพบคือ White Shark Cafe ไม่ได้เป็นแค่พิกัดที่เวิ้งว้างว่างเปล่าอีกต่อไป แต่เป็นบ้านของปลาทะเลน้ำลึกที่สามารถปล่อยแสงเรืองได้ ทำให้น้ำทะเลในระดับความลึกที่แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องถึงนั้นมีแสงสว่างขึ้นมาได้ ในทุกๆ วัน ฉลามจะดำน้ำลึก 100 ฟุตเพื่อลงไปหาฝูงปลาที่สามารถส่องแสงสว่างเหล่านี้ เพื่อล่าพวกมัน นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ ยังพบกับพฤติกรรมที่แปลกประหลาด โดยฉลามตัวผู้จะดำน้ำในรูปแบบตัว V และเป็นการทำซ้ำด้วยการดำน้ำในรูปแบบซิกแซ็ก เป็นจำนวนกว่า 140 ครั้งในแต่ละวัน ซึ่งพฤติกรรมนี้ยังเป็นปริศนาว่าพวกมันทำไปทำไม และทำไมเฉพาะฉลามตัวผู้ที่ทำอะไรแบบนี้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่านี่คือเทคนิคในการล่า หรืออาจะเป็นวิธีในการผสมพันธุ์ก็เป็นได้


ที่มา : เว็บ

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแล้ว โลกเราไม่ได้มีดวงจันทร์แค่ดวงเดียว!

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแล้ว โลกเราไม่ได้มีดวงจันทร์แค่ดวงเดียว!



Frontiers in Astronomy and Space Sciences เผยว่าคณะทำงานที่ฟอร์มทีมขึ้นมาจากนักดาราศาสตร์ระดับนานาชาติ ได้พูดถึงวัตถุขนาดเล็กในอวกาศ ที่กระโดดเข้ามาในวงโคจรรอบโลก พวกมันมีขนาดเล็กมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1-2 เมตรเท่านั้น พวกมันกลับมาแล้วก็หายไปจากวงโคจรอยู่หลายครั้งหลายหน และการค้นพบในรูปแบบนี้ ได้เปิดช่องทางใหม่ให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องวงจรชีวิตของดาวเคราะห์น้อยนักวิทยาศาสตร์แบ่ง ดวงจันทร์ขนาดเล็ก ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ TCOs และ TCFs โดยย่อมาจาก Temporarily-Captured Orbiters และ Temporarily-Captured Flybys โดยดวงจันทร์ขนาดเล็กทั้ง 2 รูปแบบนั้นจะไม่โคจรรอบโลกเป็นระยะเวลานานๆ พวกมันจะหนีออกไปจากวงโคจรโลก แล้วกลับมาเข้าวงโคจรอีกครั้ง โดยดวงจันทร์ขนาดเล็กประเภท TCOs นั้นจะโคจรรอบโลกอย่างน้อย 1 รอบ ก่อนที่มันจะหนีไป ในขณะที่แบบ TCF นั้นแค่แวะมาเฉียดโลก แล้วลอยจากไปด้วยความเร็วสูง


ที่มา : เว็บ


ร้อนดุจไฟนรก! เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นของจีนทำลายสถิติ อุณหภูมิร้อนกว่าดวงอาทิตย์ 6 เท่า

ร้อนดุจไฟนรก! เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นของจีนทำลายสถิติ อุณหภูมิร้อนกว่าดวงอาทิตย์ 6 เท่า





การทดลองเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นในเมือง Hefei ของประเทศจีน ตามการทดลองที่มีชื่อว่า Experimental Advanced Superconducting Tokamak (EAST) ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการเร่งอุณหภูมิให้สุงถึง 100 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งเป็นการสร้างสถิติใหม่ในแวดวงเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear fusion) ที่จะทำให้เราก้าวเข้าใกล้แหล่งพลังงานของโลกยุคใหม่เข้าไปอีกขั้น
ซึ่งการนำพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาอย่างมหาศาลอันเกิดจากการรวมตัวกันของอะตอม (หรือที่เรียกว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น) นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ การที่จะรวมอนุภาคเข้าด้วยกัน ต้องใส่แรงอัดเข้าไปอย่างหนักหน่วง และสถาบัน Hefei Institutes of Physical Science ในประเทศจีนได้แสดงให้เห็นแล้วว่าวิธีการบีบอัดอะตอมของพวกเขาได้ผล ลึกลงไปในแกนของดวงอาทิตย์ อะตอมของไฮโดรเจนหลอมรวมกันที่อุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส (27 ล้านองศาฟาเรนไฮต์) ทำให้เกิดแหล่งพลังงานอย่างมหาศาลให้กับดวงอาทิตย์ และถ้าเราต้องการสร้างแหล่งพลังงานในรูปแบบเดียวกับดวงอาทิตย์ เราก็ต้องสร้างเตาอบที่สามารถเร่งความร้อนได้สูงกว่าดวงอาทิตย์เพื่อให้เกิดปฎิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ซึ่งความร้อนนั้นต้องใกล้เคียงระดับ 7 เท่าของแกนในดวงอาทิตย์



ที่มา : เว็บ

มาเรียนวิชา ขุดเหมืองแร่อวกาศ กันไหมหล่ะ? มีโรงเรียนเปิดสอนเรียบร้อยแล้วด้วย


มาเรียนวิชา ขุดเหมืองแร่อวกาศ กันไหมหล่ะ? มีโรงเรียนเปิดสอนเรียบร้อยแล้วด้วย




Angel Abbud-Madrid หัวหน้าศูนย์ Space Resources แห่ง Colorado School of Mines กล่าวว่า "หลักสูตร ทรัพยากรในอวกาศ นั้นครอบคลุม ในเรื่องที่เกี่ยวกับการตรวจสอบและระบุประเภทของแร่ธาตุบนดาวเคราะห์ วิธีการขุดแร่ การสกัดแร่ รวมถึงวิธีการนำแร่มาใช้ประโยชน์" โดยหลักสูตร Space Resources นั้นมีทั้งในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาการหลายแขนงที่เกี่ยวเนื่องกับการขุดเหมืองบนดาวเคราะห์ มันครอบคลุมถึงวิธีการสำรวจ การสกัดแร่ และการใช้ทรัพยากรบนดวงจันทร์ ดาวอังคาร รวมถึงดาวเคราะห์น้อย โดยวิทยากรที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาให้ความรู้ก็จะมีความหลากหลาย ทั้งผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการทำเหมือง รวมถึงวิทยากรจากบริษัทด้านการบุกเบิกอวกาศ
Angel Abbud-Madrid กล่าวว่า "ผมจะอธิบายให้เห็นภาพที่ชัดเจน โดยการเปรียบเทียบกับโรงเรียนสอนการบิน โดยมีการเปิดสถาบันสอนการบินแห่งแรกของโลกแค่เพียง 2 ปี หลังจากที่สองพี่น้องตระกูลไรต์บุกเบิกเรื่องการบินขึ้นมา ในช่วงเวลานั้นผู้คนรู้สึกว่าอุตสาหกรรมการบินไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้จริง เพราะเทคโนโลยีการบินยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่พอมาในทุกวันนี้ เราต่างก็รู้ดีว่าอุตสาหกรรมการบินนั้นเป็นอะไรที่สำคัญ และสิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับโรงเรียนสอนเทคโนโลยีด้านอวกาศ ที่มีการจัดตั้งขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากที่มีการปล่อยดาวเทียม สปุตนิก ซึ่งในช่วงเวลานั้น การส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ยังเป็นอะไรที่ไกลเกินคิดไปเลยด้วยซ้ำ และผมมองว่าสถาบันการศึกษาต้องชี้นำความเป็นไปได้ และเตรียมกำลังคนให้พร้อมกับอุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น"
ที่มา : เว็บ

ปรับตัวเท่าทันยุค AI

ปรับตัวเท่าทันยุค AI




อีก 40 ปีข้างหน้า คาดว่าเป็นยุคแห่ง AI หุ่นยนต์จะทำหลายสิ่งแทนมนุษย์ วิถีชีวิตของคนอาจเปลี่ยนไป ซึ่งมีทั้งข้อดีและโทษ หลายด้าน เช่น สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม นักวิชาการมีคำแนะนำเพื่อให้รับมือกับโลกอนาคต
วงเสวนา นักคิดดิจิทัล Digital Thinkers Forum ครั้งที่ 3 เปิดงานวิจัยพัฒนาการ AI จาก ค.ศ. 2020 สู่ 2060 กับความพร้อมของสังคมไทย นายพณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต ระบุว่า ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญเรื่องทักษะแรงงาน ผลิตนิสิตนักศึกษาให้เป็นบุคลากรในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องหรือมีประสิทธิภาพที่จะรองรับการทำงานกับ AI ในอนาคต แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 ช่วงการพัฒนา AI (2020 – 2029) ช่วงการเตรียมความพร้อมให้คนมีทักษะสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (big data)
ช่วงที่ 2 คนทำงานร่วมกับ AI (2030 – 2049) AI ทำงานแทนคนเป็นส่วนใหญ่ แต่มนุษย์ยังต้องทำงานไปด้วยกันกับ AI โดยการทำงานของมนุษย์เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การสร้างมูลค่าหรือคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการ
ช่วงที่ 3 คนอยู่กับ AI (2050 –2060) เป็นช่วงที่ความสามารถของ AI มากกว่ามนุษย์เป็นพันเท่า สามารถทำงานทดแทนแรงงานมนุษย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ มนุษย์อาจจะไม่ต้องทำงานมาก เพราะการจ้างแรงงานมนุษย์มีต้นทุนสูงกว่า AI แต่จะมีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น อาชีพที่ปรึกษาด้านปรัชญา นักออกแบบเวลาว่าง จากงานวิจัยพบว่าในช่วงเวลานี้
คนจะเริ่มถามหาคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ เริ่มตั้งคำถามว่าเราเกิดมาทำไม”
นายพณชิต ระบุว่า การปลูกฝังเด็กเขียน Coding ในช่วงแรก (2020-2029) อาจจะไม่เพียงพอ เพราะยุคที่ 3 เป็นยุคที่คนต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ เตรียมตัวเองเข้าสู่ยุคการหาคุณค่าของชีวิต แผนการศึกษาในปัจจุบันต้องตระหนักถึงเรื่องนี้ ควรเน้น “การสร้างคน”
ในงานเสวนามีนักวิชาการให้ความเห็นต่องานวิจัยชิ้นนี้ ในมุมต่างๆ

ด้านการสื่อสารมวลชน
ศ.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดีและอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันโลกออนไลน์ เราจะได้รับข่าวปลอมจำนวนมาก และ AI ทำให้ข่าวที่ไม่มีความจริงดูแนบเนียนขึ้น รวมทั้งสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มาก
ขณะเดียวกัน AI สามารถวิเคราะห์ตรวจสอบเรื่องโครงสร้างของข่าวนั้นๆ เรื่องการใช้ภาษา และสามารถหาต้นตอของการแพร่ข่าวได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

ด้านระบบนิเวศและการพัฒนายั่งยืน
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม คาดหวังว่า AI จะเข้ามามีบทบาทเป็นเครื่องมือวิเคราะห์เก็บข้อมูลต่างๆ ที่จะมาแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การใช้ AI ในระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมจากการทำลายป่า และปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องฝุ่นควัน PM 2.5

ด้านสังคมการเมืองไทย
ด้าน ศ.อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งศูนย์นโยบายดิจิทัลอาเซียน กล่าวว่า จากรายงานของสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ใน 10 ถึง 20 ปีข้างหน้า เมื่อมี AI เข้ามา ประชากรประมาณร้อยละ 47 จะว่างงานโดยเฉพาะสายงานการขนส่ง งานในสำนักงานและแรงงานในสายงานการผลิตทั้งหมด
 ผมเห็นว่าในประเทศไทยภายใน 10 ปีนี้ เป็นช่วงเตรียมพร้อม ยังต้องการแรงงาน ถึงแม้ว่าธุรกิจขนส่งภาคเอกชนจะใช้ AI เข้ามามีส่วนร่วมกับมนุษย์แล้ว แต่งานบริการยังต้องการแรงงานทักษะมนุษย์อยู่ดี และมองว่าภาครัฐยังไม่พร้อมเรื่องแผนแรงงานและการผลิตบุคลากรเข้าสู่ระบบงาน”

ด้านสุขภาวะสังคม
นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า มิติด้านสุขภาพ AI ยังไม่สามารถเข้ามามีบทบาทมากเท่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เพราะเป็นวิชาชีพที่ต้องใช้คนประเมินและตัดสินผิดหรือถูก รวมถึงความรับผิดชอบในชีวิตของผู้ป่วย แต่ในอนาคตข้างหน้าอาจมีการยอมรับ AI มากขึ้นเนื่องจากอาชีพแพทย์อาจไม่ได้รับความนิยมเท่าสายธุรกิจ
 อนาคตโรคทางจิตอาจมีมากขึ้น ผมเห็นว่า AI ไม่สามารถเข้ามามีบทบาทในการรักษาได้ นอกจากนี้สังคมมีสุขภาวะที่ดีจะต้องมีนโยบายทางสุขภาพที่ดี ผมมองว่า AI ไม่สามารถเข้ามามีบทบาทเพื่อจัดการโครงสร้างทางนโยบายที่ดีได้”

ด้านสิทธิมนุษยชน
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เสนอความคิดเห็นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแง่การเก็บข้อมูลแบบอัตลักษณ์บุคคลว่า ประเทศไทยยังขาดความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อบุคคลทุกชนชั้นทุกสังคม ประชาชนทุกคนควรมีส่วนร่วมรับรู้ว่าข้อมูลส่วนตัวของเราถูกจัดการอย่างไร ใครจะเป็นคนกำหนดการนำไปใช้ นำไปใช้อย่างไร
ปัจจุบันกฎหมายของการใช้ AI และข้อมูลส่วนบุคคลถูกกำหนดขึ้นจากรัฐบาล ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ควรสนับสนุนให้พูดคุยระหว่างภาครัฐและประชาชนกำหนดการใช้เทคโนโลยีเพื่อปกป้องสิทธิและความปลอดภัยของประชาชน




ที่มา : เว็บ  ( ข่าวจากวันที่ 21 สิงหาคม 2562 )

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562

ทีเรกซ์ไม่ใช่สัตว์หัวร้อน เพราะมี "เครื่องปรับอากาศ" ในกะโหลกศีรษะ

ทีเรกซ์ไม่ใช่สัตว์หัวร้อน เพราะมี "เครื่องปรับอากาศ" ในกะโหลกศีรษะ

แม้รูปร่างที่ใหญ่โตและหน้าตาดุร้ายน่ากลัว แต่ไดโนเสาร์สายพันธ์ุไทแรนโนซอรัส เรกซ์ หรือ "ทีเรกซ์" ที่เรารู้จักกันดี คงจะไม่ใช่สัตว์ที่มีอารมณ์พลุ่งพล่าน หรือหัวร้อนอยู่ตลอดเวลา! เพราะล่าสุดมีการค้นพบว่า ช่องโหว่ขนาดใหญ่ 2 รูในกะโหลกศีรษะส่วนบนขงมัน สามารถทำหนาที่เป็น "เครื่องปรับอากาศ" ช่วยระบายความร้อนจากร่างกายได้เป็นอย่างดี
ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี และมหาวิทยาลัยฟลอริดาของU.S.A เผยผลการศึกษาเรื่องนี้ในวารสาร The Anatomical Record ระบุว่าภายในรูปโหว่คู่ดังกล่าวเต็มไปด้วยเส้นเลือดฝอยที่ควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเข้าใจไปว่าเป็นรูสำหรับโยงกล้ามเนื้อส่วนกรามที่ช่วยในการบดเคี้ยวในปาก
ดร.เคซีย์ ฮอลลิเดย์ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์หรือสัตว์ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ในปัจจุบัน ล้วนต้องมีกลไกควบคุมุณหภูมิร่างกาย เพื่อกักเก็บความร้อน หรือระบายออกไป เพื่อไม่ให้อุณหภูมิในร่างกายพุ่งขึ้นสูงหรือต่ำลงไปจนถึงขั้นเป็นอันตราย
ทีมวิจัยได้ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพด้วยความร้อนกับจระเข้ตีนเป็ดหรือแอลลิเกเตร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งถูกเลี้ยงอยู่ในฟาร์มที่รัฐฟลอริดา เพื่อศึกษาการถ่ายเทความร้อนบริเวณกะโหลกศีรษะของมัน เนื่องจากแอลลิเกเตอร์ก็มีรูใหญ่ตรงส่วนดังกล่าวเช่นเดียวกับทีเรกซ์ ซึ่งเป็นญาติที่อยู่ในวิวัฒนาการใกล้ชิดกัน
     ปรากฏว่า ภาพถ่ายความร้อนแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่บริเวณรูด้านบนของกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีกลุ่มเส้นเลือดฝอยอยู่ในนั้นด้วย โดยเมื่ออากาศหนาวเย็นลง เพดานกะโหลกจะปรากฏ จุดร้อน ตรงที่รูดังกล่าว แสดงถึงการรักษาอุณหภูมิไว้ภายในเพื่ออบอุ่นร่างกาย แต่ในเวลาที่อากาศอบอ้าวจุดร้อนนั้นจะเปลี่ยนเป็นจุดมืดดำ แสดงถึงการให้ความเย็นกับร่างกาย
     " ในทางตรงกันข้าม ผลการศึกษาครั้งใหม่ของเรามีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่า รูโหว่บนกะโหลกของทีเรกซ์ไม่เคยมีกล้ามเนื้ออยู่ แต่มีกลุ่มหลอดเลือดฝอย ซึ่งเป็นกลไกของสัตว์เลือดเย็นในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมตลอดเวลา " 
ฟอสซิลโครงกระดูกของทีเรกซ์แสดงให้เห็นรูขนาดใหญ่ในเพดานกะโหลกศีรษะ
ที่มา : เว็บ  (ข่าวจากวันที่ 6 กันยายน 2562)

" จันทรายาน-2 " ขาดการติดต่อก่อนลงจอดบนดวงจันทร์

" จันทรายาน-2 " ขาดการติดต่อก่อนลงจอดบนดวงจันทร์


ภารกิจยานอวกาศจันทรายาน-2 ขององค์การวิจัยอวกาศของอินเดีย ขาดการติดต่อก่อนลงจอดบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ เมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 7 ก.ย. หลังออกเดินทางออกจากโลกเป็นเวลา 47 วัน
วันที่ 7 กันยายน 2562 องค์การวิจัยอวกาศของอินเดีย (ISRO) ระบุว่า ทางองค์การได้ขาดการติดต่อกับยานอวกาศจันทรายาน-2 ขณะอยู่ห่างจากพื้นผิวดวงจันทร์เพียง 2.1 กม. เท่านั้น!! และเป็นช่วง 15 นาทีสุดท้ายก่อนลงจอดที่ดวงจันทร์ ซึ่งยังไม่สามารถระบุไดด้ว่าภารกิจนี้ล้มเหลวหรือไม่ ทั้งงนี้ตามเวลาที่องค์การวิจัยทางอวกาศของอินเดีย ระบุว่า จันทรยาน-2 จะลงจอดเวลาประมาณ 03.00-04.00 น. บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ ขณะนี้ศูนย์ควบคุมภารกิจกำลังวิเคราะห์ข้อมูล
สำหรับภารกิจจันทรยาน-2 สร้างโดยองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย ส่งออกนอกโลกเมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมา ภายในประกอบยานวิกรม บรรจุรถสำรวจขนาดเล็ก ชื่อว่า "ปราจาน" (Pragyan) เพื่อลงจอดบริเวณหลุมอุกกาบาต ทางขั้วใต้ของดวงจันทร์ ซึ่งหากลงจอดได้อย่างราบรื่น อินเดียจะเป็นประเทศที่ 4 ต่อจาก รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และจีน ที่สามารถนำยานอวกาศลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ และบริเวณดังกล่าวเป็นจุดใต้สุดของดวงจันทร์ที่ยานอวกาศเดินทางไปถึง

ที่มา : เว็บ (ข่าว ณ วันที่ 7 ก.ย. 2562)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : อินเดียลุ้นเป็นชาติที่ 4 ของโลก ส่ง "จันทรายาน-2" จอดดวงจันทร์